sweetgirl1  มาทำความรู้จักเกลือทะเลกันเถอะ ! ! !

 

                   480390jznf74be39  480390jznf74be39 480390jznf74be39"เกลือทะเล" นับเป็นสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอดมรดกมาสู่ลูกหลาน ภูมิปัญญาการทำนาเกลือถือเป็นสุดยอดแห่วองค์ความรู้ในการนำพลังแห่งธรรมชาติทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสมดุลความชาญฉลาดในการนำเอาพลังธรรมชาติมาใช้ให้เกิดผลึกเกลือจากน้ำทะเลขึ้นมาได้ ชาวนาเกลือจึงได้ขึ้นชื่อว่าทำอาชีพ "ปั้นน้ำเป็นตัว" ได้อย่างแท้จริง "ดอกเกลือ" นับเป็นจุดกำเนิดของการก่อตัวซึ่งชาวนาเกลือผู้มีความานะ จะเฝ้าอดทนหล่อผลึกเล็กๆ เหล่านั้นให้เกาะตัวกันกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้นและกลายเป็นแผ่นเกลือที่แผ่ตัวออกจนกระทั่งเต็มท้องกระทงนา มองเห็นเป็นเกล็ดแวววาวสีขาวบริสุทธิ์สะท้อนแสงแดดอย่างระยิบระยับ เป็นทิวทัศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ สวยงามและสะดุดตาแก่นักท่องเที่ยวที่สัญจรมาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนในบน เส้นทางท่องเที่ยวสายเกลือเลียบชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตก "เพชรสมุทรคีรี" ผืนนาเกลือริมชายฝั่งอ่าวไทย รูปตัว ก ที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งผลผลิตเกลือทะเลของไทยกว่าร้อยละ 90 เป็นเกลือเพชรสมุทรคีรีดินแห่งนี้จึงเป็นแหล่งผลิตเกลือแร่ที่มากคุณค่าและมีบทบาทสำคัญมาอย่างยาวนานดังจะพบว่าเกลือทะเลปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย

Cr.จุฑามาศ ทะแกล้วพันธ์ บรรณาธิการ พฤศจิกายน 2562

 

                   480390jznf74be39480390jznf74be39 480390jznf74be39 "พื้นที่ทำนาเกลือทะเลในประเทศไทย" การทำเกลือทะเลต้องใช้น้ำทะเลเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นแหล่งผลิตจึงต้องอยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล ถึงแม้ประเทศไทยจะมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,600 กิโลเมตร แต่แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเกลือทะเลมีค่อนข้างจำกัดคือ ต้องมีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นที่ราบ สภาพดินต้องเป็นดินเหนียว สามารถอุ้มน้ำได้ดีป้องกันไม่ให้น้ำเค็มซึมลงไปใต้ดิน และป้องกันไม่ให้น้ำจืดซึมขึ้นมาบนดิน มีกระแสลมและแสงแดดช่วยในการตกผลึกเกลือ

แหล่งผลิตที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

            1. กลุ่มที่มีการผลิตมาก ประมาณร้อยละ 90.0 ของผลผลิตทั้งประเทศ อยู่ที่ 3 จังหวัดภาคกลาง คือ จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

          2. กลุ่มที่มีการผลิตเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 10.0 ของผลผลิตทั้งประเทศ อยู่ที่ 4 จังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ คือ จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และปัตตานี

          ประเทศไทยมีพื้นที่ทำนาเกลือทั้งหมดประมาณ 81,485 ไร่ โดยจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่มากที่สุด ร้อยละ 47.0 รองลงมาได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร ร้อยละ 43.1 จังหวัดสมุทรสงคราม ร้อยละ 7.7 จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 1.0 จังหวัดจันทบุรี ร้อยละ 0.6 จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 0.4 และจังหวัดฉะเชิงเทรา ร้อยละ 0.2 ตามลำดับ

 

                   480390jznf74be39480390jznf74be39 480390jznf74be39 "ผลพลอยได้จากการผลิตเกลือทะเลและเกลือสมุุทร"

           1. สัตว์น้ำทะเลต่างๆ เกษตรกรชาวนาเกลือที่มีพื้นที่กักเก็บน้ำทะเล (วัง) ก็จะมีสัตว์น้ำทะเลต่างๆ เช่น กุ้งขาว กุ้งแชบ๊วย ปลาหมอเทศ ปลากระพง ปูทะเล ฯลฯ อยู่ภายในวัง เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติเพื่อเป็นรายได้เสริมทางหนึ่ง

        2. น้ำเค็ม เนื่องจากน้ำในนาเกลือมีความเค็มมากกว่าน้ำทะเล เกษตรกรชาวนาเกลือสามารถจำหน่ายน้ำเค็มให้กับเกษตรกรชาวนากุ้ง เพื่อนำไปผสมกับน้ำปกติเพื่อใช้เพาะเลี้ยงกุ้ง

        3. เกลือจืด (ยิปซั่ม) เกลือจืดหรือยิปซั่มเป็นสินแร่ที่เกิดในนาเกลือเฉพาะแปลงที่ใช้กักเก็บน้ำแก่ (นารองเชื้อและนาเชื้อ) เกลือจืดจะเกิดอยู่บนหน้าดิน เกษตรกรชาวนาเกลือจะทำเกลือจืดในฤดูฝน หลังจากหมดฤดูทำนาเกลือแล้ว โดยจะขังน้ำฝนไว้ในแปลงนาที่มีเกลือจืด แล้วรวบรวมเกลือจืดเข้าเป็นกองๆ จากนั้นก็จะร่อนและล้างเอาเศษดินเศษโคลนออกให้เหลือแต่เม็ดเกลือจืดที่แข็ง คล้ายทรายหยาบๆ และไม่ละลายน้ำ

          การทำเกลือจืดมักเป็นงานของผู้หญิงที่รวมกลุ่มกัน 4-5 คน ช่วยกันทำ เป็นงานที่ไม่หนักเหมือนการทำนาเกลือ แต่เป็นงานที่ช้าและเสียเวลา รวมทั้งต้องแช่อยู่ในน้ำตลอดเวลาที่ทำเกลือจืด โดยปกติราคาเกลือจืดจะสูงกว่าเกลือทะเล สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตปูนปลาสเตอร์ ทำยาสีฟันชนิดผง และแป้งผัดหน้า เป็นต้น

        4. ดีเกลือ การทำดีเกลือจะทำแปลงเฉพาะไม่ปนกับแปลงนาเกลือ โดยนำน้ำจากการรื้อเกลือแต่ละครั้งไปขังรวมกันไว้ ทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็จะมีดีเกลือเกิดขึ้นเกาะอยู่ตามพื้นนา เกษตรกรชาวนาเกลือจะเก็บดีเกลือทุกวันในเวลาเช้าก่อนแดดออก (ถ้าแดดจัดดีเกลือจะละลายไปกับน้ำ) ดีเกลือชนิดนี้จะเป็นเม็ดสีขาวมีรสขม นำไปใช้ประกอบเป็นเครื่องยาไทยโบราณประเภทยาระบายหรือยาถ่าย และน้ำที่อยู่ในนาดีเกลือจะมีความเค็มจัดมากเรียกว่า “น้ำดีเกลือ” นำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเต้าหู้ เป็นสารทำให้เต้าหู้แข็งตัว

        5. ขี้แดด เป็นส่วนที่อยู่บนผิวดินของนาเกลือ มีลักษณะเป็นแผ่นร่อนอยู่บนผิวนา ซึ่งเกษตรกรชาวนาเกลือต้องทำการเก็บขี้แดดก่อนทำการบดดินตอนต้นฤดูการทำนาเกลือ ขี้แดดนี้สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยปลูกพืชได้

http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=68&Itemid=71&lang=th

               480390jznf74be39480390jznf74be39 480390jznf74be39 "วิธีการทำนาเกลือ" 

1.เตรียมแปลงนา

            พื้นที่นาเกลือในจ.เพชรบุรีส่วนใหญ่มีขนาด 50-100 ไร่ กระบวนการเตรียมแปลงนาเริ่มต้นจากการวางผังทำแปลงนาเกลือ โดยแบ่งการใช้พื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1)นาขัง ร้อยละ 40 2)นาตากหรือนาแผ่ ร้อยละ 20 3)นาเชื้อหรือนาดอก 20 ของพื้นที่ 4)นาวาง ร้อยละ 20 มักนิยมให้นาวางอยู่ติดถนนและยุ้งเกลือเพื่อให้สะดวกต่อการขนส่ง

66591

2.ขั้นตอนการทำเกลือ

                 1) ดันน้ำทะเลมาใส่ในนาขังประมาณ 70 เซนติเมตร เพื่อกักน้ำไว้ในให้ตกตะกอนและมีความเค็ม 0 ดีกรี (30 พีพีที)

               2) จากนั้นดันน้ำเข้านาตากหรือนาแผ่ให้มีระดับน้ำประมาณ 50 เซนติเมตร ปล่อยให้น้ำระเหยจนมีความเข้มข้นมากขึ้นที่ระดับความเค็ม 5 ดีกรี แล้วผันน้ำต่อไปยังนาเชื้อหรือนาดอกต่อไป

              3) คงระดับไว้ในนาเชื้อที่ความลึก20 เซนติเมตร ความเค็ม 15 ดีกรี กักน้ำไว้ระยะหนึ่ง ระหว่างนั้นชาวนาเกลือจะมากลิ้งปรับพื้นนาวางให้แน่นและเรียบแล้วจึงค่อยนำน้ำเข้านาวาง ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน น้ำจะมีความเค็มมากขึ้นถึง 20 ดีกรี แล้วจึงถอดน้ำโดยการผันน้ำกลับไปที่นาเชื้ออีกครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบโดยชักน้ำกลับไปมาระหว่างนาเชื้อกับนาวางเพื่อให้น้ำมีความเค็ม 25 ดีกรี จึงดันน้ำเข้านาวาง

                4) ที่นาวางจะเริ่มเกิดรกเกลือบริเวณผิวหน้าน้ำ และผลึกเกลือจะก่อตัวหนาขึ้นจนกระทั่งเป็นแผ่นหนาแล้วจมตัวลง สังเกตว่าน้ำจะเริ่มแห้ง ในขณะเดียวกันน้ำรอบต่อมาที่รออยู่ในนาเชื้อก็จะมีความเค็มได้ที่ พร้อมที่จะนำมาเพิ่มในนาวางเพื่อให้เกลือตกผลึกเร็วและมาก

                 5) ปล่อยให้เกลือมีชั้นความหนาของแผ่นเกลือประมาณ 1 ข้อนิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ

3.การเก็บเกี่ยวผลผลิต มี 2 ขั้นตอน ได้แก่

                 การรื้อเกลือ และการหาบเกลือ

                 1) การรื้อเกลือ ชาวเพชรบุรีเรียกว่า การไหย่เกลือ เริ่มจากการนำ “ลั่วเดินเกลือ”ลงไปแซะแผ่เกลือให้แตกโดยเว้นระยะห่างแถวประมาณ 1 เมตร จากนั้นใช้ “วัว” มาลากเพื่อชักแถวเกลือ จึงใช้ “คฑา”ก่อกองเกลือให้เป็นกองยอดแหลมแบบปิรามิด

                  2) การหาบ ชาวนาเกลือนิยมทิ้งช่วงให้น้ำไหลออกจากกองเกลือโดยระบายน้ำออกไปไว้ในนาเชื้อ และปล่อยให้พื้นที่ซึ่งก่อกองเกลือไว้แห้ง แล้วจึงให้แรงงานคนหาบขนเกลือเข้าไปเก็บไว้ในยุ้ง ด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการหาบเกลือ จะประกอบด้วย ไม้กาบหรือโพงโกยเกลือเข้าบุ้งกี๋ แรงหาบเกลือก็จะใช้ไม้คานสอดร้อยเชือกสายบุ้งกี๋ 1 คู่ แล้วยกใส่บ่า ทยอยขนเกลือไปกองในยุ้ง โดยมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องในการทำนาเกลือ คือ พิธีทำขวัญเกลือ นิยมทำกันในวันพฤหัสบดีเมื่อขนเกลือกระทงแรกเข้าไปเก็บไว้ยุ้ง

mmmmmm